MOOCกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษหลังโควิดและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

สารสภาพนักงาน มหาวิทยาลัยบูรพา ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2565 MOOCกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษหลังโควิดและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบันหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา การเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบออนไลน์ จึงมีการนำการศึกษาในรูปแบบ MOOC มาใช้มากขึ้น ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง และเป็นการสร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเป้าหมายที่ 4 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เน้นการพัฒนาที่ครอบคลุม มุ่งการเปลี่ยนแปลง และบูรณาการ ที่ทุกประเทศต่างจะต้องนำไปปฏิบัติ เป้าหมายที่สำคัญที่ผู้เขียนท่านมุ่งเน้นคือ เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Cr: ขอขอบคุณ อาจารย์บุษบง แซ่จิว สมาชิกสภาพนักงาน อาจารย์สังกัดสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา